หน่อไม้ มักอยู่ในรายชื่ออาหารที่ผู้หลักผู้ใหญ่มักไม่แนะนำให้ลูกหลานรับประทาน รวมถึงตัวเองด้วยด้วยความเชื่อว่าหน่อไม้อันตรายเป็นอาหารแสลงก่อให้เกิดโรคอันตราย หวยออนไลน์ เป็นแผลก็จะยิ่งทำให้แผลแย่ลง โดยเฉพาะหลังผ่าตัดรวมถึงยังเป็นสาเหตุของโรคอันตรายอย่าง โรคมะเร็ง อีกด้วย หน่อไม้เป็นหน่ออ่อนของไผ่ที่แตกจากเหง้าใต้ดินมีลักษณะสีเหลืองอ่อนรสสัมผัสกรุบกรอบราคาย่อมเยา สามารถนำมาปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด และยังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ไม่ใช่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น
หน่อไม้ อันตรายจริงหรือ
1. หน่อไม้ดิบ หน่อไม้ดิบหรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุกอาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากสารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดงแทนที่ออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนหมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคหน่อไม้ดิบ การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุกจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ
2. หน่อไม้ดอง หน่อไม้เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำมาหมักดองเพื่อการเก็บรักษาอาหารเอาไว้ให้ได้นานยิ่งขึ้น โดยมักทำการดองเอาไว้ในปิ๊บเป็นเวลาหลายเดือน 789bet vip หากขั้นตอนการหมักดองไม่สะอาดเพียงพอจะเกิดเป็นเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum เจริญเติบโตอยู่ในหน่อไม้ที่อยู่ในปี๊บ หากทำมาปรุงอาหารด้วยความร้อนที่ไม่เพียงพออาจได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน ท้องเสีย หากสารพิษโบทูลินเริ่มซึมจากระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดและระบบประสาท อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหนังตา ลูกตา ใบหน้า การพูดการกลืนผิดปกติ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หายใจไม่ออกและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
หน่อไม้ ปลอดภัยกว่าที่คิด
● ผู้ป่วยเบาหวาน หน่อไม้ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแต่อย่างใด
● ผู้ป่วยโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบหรือตับแข็งก็รับประทานหน่อไม้ได้ไม่มีผลกระทบต่ออาการของโรค
● ผู้หญิงที่มีประจำเดือน มีระดูขาว หน่อไม้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดระดูขาวในผู้หญิงแต่อย่างใด
● ผู้ที่มีแผล หลังผ่าคลอด หลังผ่าตัด หน่อไม้ไม่ได้มีส่วนทำให้แผลอักเสบ หายช้าหรือติดเชื้อใดๆเช่นกัน
หน่อไม้ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งแต่อย่างใด ยกเว้น หน่อไม้ฝรั่ง ที่สารแอสพาราจีน Asparagine ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ฝรั่งและอาหารอีกหลายชนิด เป็นตัวการที่ช่วยให้เซลล์มะเร็งเต้านมแพร่กระจายและเจริญเติบโตลุกลามไปทั่วร่างกายได้มากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของหน่อไม้
หน่อไม้มีกากใยอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ติดต่อเรา 789bet ลดความเสี่ยงอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีแคลอรี่ต่ำจึงสามารถรับประทานได้และเหมาะสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีโปรตีน โพแทสเซียม วิตามินเอ และแคลเซียมอีกด้วย อย่างไรก็ตามควรตระหนักว่าหน่อไม้ที่กินแล้วมีประโยชน์ต้องเป็นหน่อไม้ปรุงสุก หน่อไม้ดองที่สะอาด มีคุณค่าทางสารอาหารต่ำกว่า แต่ไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายมากอย่างที่กลัวกันและไม่ว่าอย่างไรก็ไม่ควรรับประทานหน่อไม้มากเกินไป ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและเลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลายจะดีกว่า