โรคกระเพาะจัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ คนที่นิยมกินยาแก้ปวดข้อปวดเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อเป็นประจำ คน ที่ดื่มสุราจัด ดื่มกาแฟจัด คนที่มีความเครียดบ่อยๆ
อาการ
ที่เด่นชัดคือ หิวแสบ อิ่มจุก กล่าวคือ เวลาท้องว่าง (เช่น ใกล้มื้ออาหาร ตอน ดึกๆ ตอนเช้ามืด) จะมีอาการแสบท้อง เวลาอิ่ม ใหม่ๆ (เช่น หลังกินอาหาร) จะมีอาการจุกแน่น ตำแหน่งที่ปวดแสบหรือจุกแน่น จะเป็นตรงบริเวณลิ้นปี่หรือยอดอก (เหนือสะดือ) มักจะเป็น นาน ครั้งละ ๓๐ นาที อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้ เอง หรืออาจทุเลาหลังกินยาต้านกรด (ยาน้ำขาว) หากไม่รักษา ผู้ป่วยมักจะมีอาการกำเริบ เวลาก่อนหรือหลังมื้ออาหารแทบทุกมื้อและแทบทุกวัน เข้าเล่น sa บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยบางคนอาจมีอาการกำเริบเวลากินยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ของมันๆ ของหวานๆ อาหารที่ย่อยยาก หรือกำเริบในช่วงที่กินอาหารผิดเวลาหรือปล่อยให้หิวนานๆ หรือเวลามีความเครียด
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าเป็นโรคแผลเพ็ปติก หากไม่ได้รับการักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เป็นแผลทะลุ เลือดออก (อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ) กระเพาะลำไส้ตีบ เป็นต้น และ หากเกิดเชื้อเอชไพโลไร อาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารตามมาได้
การรักษา
ถ้าเป็นอาการครั้งแรก และมั่นใจว่าไม่ใช่สาเหตุอื่นที่ร้ายแรง แพทย์จะแนะนำการปฏิบัติตัวดังกล่าวข้างต้น ส่วนยานอกจากยาต้าน กรดแล้ว อาจให้ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะ เช่น ไซเมทิดีน (cimetidine), รานิทิดีน (ra-nitidine) ควบคู่ไปด้วย นาน ๖-๘ สัปดาห์ถ้ามีอาการกำเริบเรื้อรัง หรือสงสัยว่าไม่ใช่โรคกระเพาะ แพทย์จะทำการตรวจพิเศษ และให้การรักษาตามสาเหตุดังนี้
* ถ้าตรวจพบว่าเป็นแผลเพ็ปติกจากการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ แพทย์จะแนะนำ ให้งดยาดังกล่าว และให้ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะ เช่น ไซเมทิดีน, รานิทิดีน, โอเม-พราโซล (omeprazole) นาน ๖-๑๒ สัปดาห์
*ถ้าตรวจพบว่าเป็นแผลเพ็ปติกจากการ ติดเชื้อเอชไพโลไร แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ๒ ชนิด (ได้แก่ อะม็อกซิซิลลิน และ เมโทรไนดาโซล) กิน ๗ วัน เพื่อ ฆ่าเชื้อดังกล่าว และให้ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะ (ได้แก่ โอเมพราโซล) กินนาน ๔-๘ สัปดาห์ วิธีนี้จะช่วยกำจัดเชื้อ ทำให้แผล หาย และไม่เกิดอาการกำเริบเรื้อรัง อีก นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงต่อ การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจากเชื้อดังกล่าวอีกด้วย
*พบว่ามีสาเหตุจากโรคกระเพาะ ชนิดไม่มีแผลก็จะให้การรักษาแบบข้อที่ ๑ โรค กลุ่มนี้มักจะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อ มีเหตุกระตุ้นให้กำเริบ ดังนั้นแพทย์จะเน้นการปฏิบัติตัว ได้แก่ การหลีกเลี่ยงอาหารและสิ่งที่เป็นเหตุกำเริบ การออกกำลังกาย การผ่อนคลาย ความเครียดมีสาเหตุอื่นๆ ก็จะให้การ รักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ นิ่วใน ถุงน้ำดี ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ จะให้ยารักษา หากเป็นมากอาจต้องผ่าตัด เป็นต้น
การวินิจฉัย
ถ้ากินยาโรคกระเพาะแล้วไม่ดีขึ้น sa gaming หรือสงสัยเป็นโรคอื่น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด และอาจทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นหัวใจถ้าหากสงสัยเป็นแผลเพ็ปติก แพทย์จะทำ การเอกซเรย์ โดยให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม หรือ ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ (endoscope) ถ้าพบว่าเป็นแผลจริง แพทย์จะนำเนื้อเยื่อกระเพาะ ไปตรวจพิสูจน์ว่าเป็นการติดเชื้อเอชไพโลไรหรือไม่ ถ้าติดเชื้อนี้จริง จะได้ให้ยาปฏิชีวนะกำจัดให้โรค หายขาดได้